วันที่ 3 มีนาคม 2023

จาก Low carbon สู่ Carbon neutrality ภายใต้งานวิจัยทุน บพข.
ระหว่างวันที่ 2-5 มีนาคม TEATA ได้นำผลผลิตจากงานวิจัยปี 2564 - 2565 โดยได้รับทุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กองทุน ววน. ได้แก่องค์ความรู้ต่างๆ ประกอบด้วยเส้นทางท่องเที่ยวกว่า 50 เส้นทางที่มีการจัดการโดยผู้ประกอบการจนบรรลุเป้าหมาย Eco-friendly / Low carbon / Carbon neutrality และเตรียมยกระดับกลุ่มเส้นทางที่พร้อมไปสู่เป้าหมาย Net zero emissions ในที่สุด โดยมีการวัด ลด ชดเชย จนปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ รวมถึงผลผลิตจากโครงการวิจัยในกลุ่มเที่ยวไทยไร้คาร์บอนจากหลายสถาบัน ผลผลิตหลักเป็นเครื่องมือมากมายที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการในกิจการท่องเที่ยวไทยทำงานเรื่องนี้ได้ ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ในค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม จนพร้อมรับมือกับกลไกจัดการก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับในอนาคต มีส่วนช่วยทำให้ขีดวามสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมภาคท่องเที่ยวของไทยดีขึ้น
 
 
ผลงานนี้เกิดจากการทำงานร่วมกันของเครือข่ายทั่วไทยและภาค Carbon Balance 8 องค์กร ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ก.ย. 2564 เป็นต้นมา โดยเริ่มจากการพัฒนาองค์ความรู้ในงานวิจัยปี 2564 การพัฒนาเส้นทางให้บรรลุเป้าหมาย Carbon neutrality และทดสอบขายในงานวิจัยปี 2565 ก่อนขยายผลต่อเนื่องในปี 2566 โดยมีองค์กรอื่นๆในภาคี Carbon Balance ให้การสนับสนุนทั้งการเชื่อมโยง การใช้ประโยชน์และส่งเสริมให้แพร่หลาย อันถือเป็นกลุ่มเส้นทางท่องเที่ยวทีบรรลุเป้าหมาย Low carbon และ Carbon neutrality แล้วกลุ่มแรกๆของประเทศไทย มานำเสนอสู่ตลาดท่องเที่ยวในงานไทยเที่ยวครั้งที่ 65 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัว กลุ่มเกษียนอายุ และองค์กรต่างๆ เข้ามาสอบถามเพื่อติดตามและติดต่อไปใช้บริการกับเครือข่ายทำให้บริการเส้นทางท่องเที่ยวเหล่านี้ผ่านเว็บไซต์ carbonneutral.tours และ เพจ เที่ยวไทยไร้คาร์บอน ภายใต้กิจกรรมในงานวิจัยปี 2566 "การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในประเทศไทยในรูปแบบองค์กรจัดการจุดหมายปลายทาง"
 
 
ทั้งนี้ภายใต้กลุ่มงานวิจัยนี้จะมีนวัตกรรมจากโครงการวิจัยในกลุ่มจำนวนมากที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นภาคการท่องเที่ยวไทยสามารถนำไปใช้จัดการก๊าซเรือนกระจกได้ในรูปแบบที่สะดวก ง่าย และเชื่อถือได้กับทั้งไทยและสากล จนบรรลุเป้าหมาย Low carbon > Carbon neutrality และ Net zero emissions สอดคล้องกับแผนของประเทศและทำให้ท่องเที่ยวไทยมีชื่อเสียงในประเด็นการจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยในปี 2566 จะมีการขยายองค์กรสมาคมท่องเที่ยวและสถาบันการศึกษาด้านท่องเที่ยวที่มีขีดความสามารถในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยต่างๆที่ทาง บพข ได้สนับสนุนผ่านหลายโครงการโดย TEATA จะนำไปขยายผลต่อให้เพื่อนๆสมาคมอื่นๆนำไปใช้ประโยชน์อีกไม่น้อยกว่า 15 องค์กร และมีเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ออกนำเสนอสู่ตลาดอีกเป็นจำนวนมาก จนทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบ Green Economy ในภาคการท่องเที่ยวเกิดขึ้นชัดเจน
Visitors: 159,684